Australia:
Terra nullius (no person’s land)? |
แนวคิดหลักที่มักปรากฏเสมอในวรรณกรรมโพสต์โคโลเนียล
คือ ถิ่นฐานและการถูกบังคับให้ย้ายถิ่น (place and displacement)
ประเทศเจ้าอาณานิคมเข้าบุกรุกและยึดดินแดนจากชาวพื้นเมือง ชาวพื้นเมืองส่วนหนึ่งถูกสังหารหมู่
ที่เหลือรอดที่ถูกรุกไล่ให้ออกจากไปถิ่นฐานเดิมของตนเอง |
ในกรณีของออสเตรเลีย
ชาวอะบอริจินถูกบุกรุกโดยผู้ตั้งถิ่นฐานผิวขาว เรื่องตลกก็คือ
ในปีค.ศ.1788 อาร์เธอร์ ฟิลลิปอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนออสเตรเลียในนามของสหราชอาณาจักร
ได้ประกาศว่าออสเตรเลียเป็น“terra nullius” ซึ่งหมายถึงเป็นดินแดนที่ไม่มีชนดั้งเดิมอาศัยอยู่
จึงไม่จำเป็นต้องทำสนธิสัญญาใดๆ กับชนพื้นเมืองและนับตั้งแต่นั้นมาชาวอะบอริจิน
ก็ล้มตายเป็นจำนวนมาก บ้างเพราะเชื้อฝีดาษที่มาพร้อมกับคนผิวขาว
หรือถูกสังหารในลักษณะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ |
มีการบันทึกไว้ว่าในปี
ค.ศ. 1788 มีประชากรชาวอะบอริจินจำนวน 300,000 คน แต่พอมาใน
ค.ศ. 1901 ลดเหลือเพียง 66,000 คน และในปี ค.ศ. 1921 มี 60,000
คน (Hodge & Mishra, 1990: 38) ปัจจุบันชาวอะบอริจินเป็นเพียงชาวกลุ่มน้อยที่มีจำนวนประชากรเพียงร้อยละ
2 ทั้งนี้ตัวเลขนี้รวมพวกลูกผสมแล้วด้วย ชะตากรรมอันแสนเศร้าของชาวอะบอริจิน
ก็เช่นเดียวกับชนพื้นเมืองอื่นๆ คือเกิดจากลัทธิล่าอาณานิคม
ผลกระทบของการถูกขับไล่ออกจากถิ่นฐานประกอบกับนโยบายของรัฐของชนผิวขาวที่กดขี่และทำลายล้างวัฒนธรรมของชาวอะบอริจินปรากฏอย่างต่อเนื่องชัดเจนในวรรณกรรม
|
บทความนี้จึงพยายามชี้ให้เห็นความสำคัญของถิ่นฐานกับอัตลักษณ์ของชาวอะบอริจินผ่านเรื่องสั้น
4 เรื่อง ได้แก่เรื่อง Heart Is Where the Home Is ของเทีย แอสต์ลี(Thea
Astley) เรื่อง N’goola ของแคทารีน ซูซานนา พริชาร์ด(Katharine
Susannah Prichard) เรื่อง Going Home ของอาร์ชี แวลเลอร์ (Archie
Weller) และเรื่อง In the Yard and Round the House ของ เฮิร์บ
วาร์ตัน (Herb Wharton) |
เรื่องสั้น
2 เรื่องแรกเป็นงานที่เปิดเผยชะตากรรมของชาวอะบอริจินโดยนักเขียนหญิงผิวขาว
ส่วน 2 เรื่องหลังเป็นงานของนักเขียนชายเชื้อสายอะบอริจิน การเลือกสรรเรื่องสั้นทั้งสี่เรื่องนี้จงใจให้เห็นความผูกพันของชาวอะบอริจินกับถิ่นฐาน
ซึ่งการพลัดพลาดจากถิ่นฐานเดิมทำให้เกิดการสูญเสียอัตลักษณ์
และเป็นการทำลายรากเหง้าทางวัฒนธรรมของชาวอะบอริจิน การอ่านเรื่องสั้นทั้ง
4 เรื่องตามลำดับดังกล่าว จะเปิดเผยให้เห็นอัตลักษณ์ของชาวอะบอริจินที่แตกต่างกับคนผิวขาวอย่างชัดเจนในประเด็นของการผูกพันกับถิ่นฐาน
|
การศึกษาแนวโพสต์โคโลเนียลในกรณีของออสเตรเลียนั้นบทบาทของชาวผิวขาวมีลักษณะของปฏิทรรศน์
(paradox) ลูกหลานของผู้ตั้งถิ่นฐานผิวขาวอาจเกิดความรู้สึกแปลกแยกกับประเทศแม่
และงานเขียนของคนผิวขาวเหล่านี้ก็แสดงออกถึงความรู้สึกเช่นนี้
จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นวรรณกรรมโพสต์โคโลเนียล แต่ในขณะเดียวกัน
เมื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างลูกหลานของผู้ตั้งถิ่นฐานผิวขาวกับชนพื้นเมืองคือชาวอะบอริจินแล้วก็พบว่า
คนผิวขาวเหล่านี้กระทำตนเป็นผู้กดขี่ชาวอะบอริจิน ดังนั้น :
|
“ในแง่ประวัติศาสตร์ผู้ตั้งถิ่นฐานผิวขาวเป็นตัวแทนของการปกครอง
แบบอาณานิคม และการพัฒนาของพวกเขาไม่ว่าในด้านวัฒนธรรม
หรือเศรษฐกิจ ไม่อาจเทียบเคียงได้กับชาวอาณานิคม (ทั้งนี้เพราะ)
ชนผิวขาวที่นี่ไม่ได้ตกเป็นเหยื่อของการล้างเผ่าพันธุ์
การเอาเปรียบ
ทางเศรษฐกิจ การทำลายวัฒนธรรม และการกีดกันทางการเมือง”
(Loomba, 1998: 9) |
|
เรื่องราวและวัฒนธรรมของชาวอะบอริจินถูกลบออกจากประวัติศาสตร์ของออสเตรเลียอย่างสิ้นเชิง
ก่อนหน้าปี ค.ศ. 1967 (ที่มีการออกประชามติให้สิทธิความเป็นพลเมืองออสเตรเลียแก่ชาวอะบอริจิน)
วรรณกรรมของออสเตรเลียไม่รวมถึงวรรณกรรมอะบอริจิน ทั้งนี้เพราะนโยบายของรัฐผิวขาวที่กระทำต่อชาวอะบอริจินอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
กดขี่ จนถึงการกลืนวัฒนธรรม อาจกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์ออสเตรเลียเป็นประวัติศาสตร์แห่งการปิดปากชาวอะบอริจิน
รวมทั้งการทำให้ชนอะบอริจินเป็นชน “ชายขอบ” |
สตีเฟน
การ์ตัน (Stephan Garton) ใน Australian Studies : A Survey
(1991) กล่าวไว้ว่า ในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความพยายามที่จะเปลี่ยนชาวอะบอริจินให้
“เจริญ” ขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ “ทำให้เป็นคนผิวขาว” รวมทั้งเปลี่ยนจากคนนอกรีตให้หันมานับถือคริสต์ศาสนา
มีการก่อตั้งโรงเรียนและสำนักสอนศาสนามากมายเพื่อสอนชาวอะบอริจิน
แต่ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จ เพราะชาวอะบอริจินหากไม่หนีไปก็ต่อต้าน
งานเขียนของชาร์ล ดาร์วินที่แพร่หลายในขณะนั้นมีส่วนทำให้คนผิวขาวเชื่อว่า
ชนเผ่าอะบอริจินเป็นเผ่าพันธุ์ที่ไม่อาจพัฒนาได้ และจะต้องสูญพันธุ์ในที่สุด
ต่อมาในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในท่ามกลางลัทธิเหยียดผิวนั้น
ชาวอะบอริจินได้กลายมาเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมบางประเภท ที่สำคัญคือแรงงานในไร่และปศุสัตว์ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย
นายจ้างผิวขาวสนับสนุนให้ชาวอะบอริจินรวมอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลและสำนักสอนศาสนา
เป็นการบังคับทางอ้อมให้ชาวอะบอริจินเหล่านี้ต้องมาเป็นลูกจ้างรายได้ต่ำในปศุสัตว์เหล่านี้เพื่อความอยู่รอด
ปัญหาที่ตามมาคือ ชาวอะบอริจินไม่ได้สูญพันธุ์ง่ายๆ ตามความคาดหวังของคนผิวขาวบางกลุ่ม
ปรากฏว่าอัตราการเกิดของ “เด็กลูกครึ่ง” มากกว่าเด็กผิวขาว รัฐบาลจึงตระหนกตกใจว่าจะเกิดเผ่าพันธุ์ที่ด้อยกว่าทางพันธุกรรม
(ตามความคิดแบบ white supremacy ที่คิดว่าคนผิวขาวคือเผ่าพันธุ์ที่เหนือกว่าชนเผ่าอื่น)
จึงเกิดนโยบายแยกชาวอะบอริจินแท้ๆ ไปอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ส่วนเด็กลูกครึ่งหรือเด็กที่ผิวขาวกว่าชาวอะบอริจินแท้ๆ
จะถูกพรากจากครอบครัวไปเลี้ยงดูในสถาบันต่างๆ เช่น สถานเลี้ยงดูเด็กของรัฐหรือของโบสถ์
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผสมระหว่างเผ่าพันธุ์อีก ดังนั้น ชาวอะบอริจินแท้ๆ
จะถูกแยกไปและดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม แต่พวกลูกครึ่งจะถูก ‘กลืน’
เข้าไปในสังคมของคนผิวขาว นี่คือที่มาของนโยบายกลืนเผ่าพันธุ์
(policy of assimilation) (Walter, 1991: 193-195) |
Heart
Is Where the Home Is (1987) ของ เทีย แอสต์ลี เป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของออสเตรเลียช่วงหนึ่งที่รัฐบาลผิวขาวต้องการที่จะทำลายล้างวัฒนธรรมของชาวอะบอริจิน
โดยการออกนโยบายกลืนเผ่าพันธุ์ (policy of assimilation) ในช่วงทศวรรษ
1880 ถึง 1960 วิธีการของรัฐก็คือการใช้กำลังแยกเด็กๆ ออกจากอกของพ่อแม่โดยรัฐเป็นผู้เลี้ยงดู
กระจายเด็กอะบอริจินไปตามโบสถ์ สำนักสอนศาสนา และสถานเลี้ยงดูเด็กของคนผิวขาว
ศาสนจักรถูกใช้เป็นเครื่องมือในการล้างเผ่าพันธุ์ด้วยความเชื่อที่ว่าชนเผ่าอะบอริจินเป็นพวกนอกรีต
และเป็นหน้าที่ของคาทอลิกที่ดีที่จะทำให้เด็กเหล่านี้นับถือคริสต์ศาสนา
วิธีคิดของรัฐบาลและศาสนจักรก็คือ การแยกเด็กออกจากครอบครัวนั้นเป็นวิธีการที่จะทำลายจิตวิญญาณของชาวอะบอริจินอย่างได้ผลที่สุด
(Bangkok Post, 1994) |
เทีย
แอสต์ลีเริ่มต้นเรื่องว่า
“The
morning the men came, policemen, someone from the
government, to take the children away from the black
camp
along the river, first there was the wordless terror
of heart-
jump, then the wailing, the women scattering and trying
to
run dragging their kids, the men sullen, powerless before
this new white law they’d never heard of. Even the coppers
felt lousy seeing all those yowling gins. They’d have
liked
the boongs to show a bit of fight, really, then they
could
have laid about feeling justified.
But no. The buggers just took it. Took it and took it.
The passivity finally stuck in their guts. (290) |
|
เริ่มต้นเรื่องผู้เขียนชี้ให้เห็นสภาพที่ชาวอะบอริจินถูกควบคุมและจำกัดบริเวณให้อยู่ในค่าย
และนโยบายของรัฐบาลผิวขาวที่พรากลูกจากพ่อแม่ ก็เพื่อ “Take
her away to big schools and teach her proper, eh? You like
your kid to grow up proper and know about Jesus?” (290) ตำรวจที่บุกเข้ามาโดยการขี่ม้า
จับเอาเด็กเล็กๆ ไป ท่ามกลางความโกลาหลของบรรดาแม่ที่พยายามพาลูกหนีในขณะที่ชาวอะบอริจินได้แต่มองและยอมรับชะตากรรม |
ตัวเอกของเรื่อง
หญิงอะบอริจินนาม “เนลลี” (Nelly) ได้ข่าวตำรวจบุกเอาตัวเด็กๆ
ในค่ายอื่นมาแล้วจากคำบอกเล่าของ “รูที” (Ruthie) ญาติของเธอ |
ในตอนนี้ผู้เล่าเรื่องย้อนไปเล่าคำบอกเล่าของรูที
หลังจากที่ตำรวจลักเอาตัวลูกของเธอไปพร้อมกับเด็กคนอื่นๆ เธอวิ่งตามลูกไป
“She
bin chase that buggy two miles till one of the police
he
ride back on his horse an shout at her an when she wouldn
take
no notice she bin run run run an he gallop after her
an hit her
one two, cracka cracka, with his big whip right across
the face
so the pain get all muddle with the cryin and she run
into the
trees beside the track where he couldn follow. She kep
going
after that buggy, fighting her way through scrub but
it wasn’t
no good. They too fast……” (291) |
|
ผู้เขียนเปลี่ยนมุมมองของการเล่าเรื่องไปเป็นมุมมองของเนลลีที่เล่าเรื่องของรูที
ดังนั้นจึงเปลี่ยนภาษาให้สมจริงด้วยภาษาอังกฤษแบบอะบอริจินที่สร้างความสะเทือนอารมณ์ด้วยมุมมองและภาษาแบบซื่อๆ
อย่าง “She bin run run run” หรือ “hit her one two, cracka
cracka,” ที่ผสมผสานการซ้ำคำและการเลียนเสียงซึ่งได้ทั้งภาพและอารมณ์ |
ดังนั้นเมื่อเนลลีเห็นตำรวจขี่ม้าเข้ามา
เธอจึงไม่รอช้าฉวยตัวลูกชายวิ่งหนีเข้าป่าไปอย่างไม่คิดชีวิต
ในใจของเธอคิดอยู่ว่าจะไม่ยอมให้คนผิวขาวพรากลูกไปจากเธอโดยเด็ดขาด
เพราะคนขาวเข้ามาแย่งชิงทุกสิ่งไปจากพวกเธอ “Everything gone.
Land. Hunting grounds. River. Fish. Gone. New god come. Old
take still about killings. The old ones remembering the killings.” |
เนลลีพาลูกหนีไปพึ่งครอบครัวชาวผิวขาว
คือ จอร์จและเมก เจ้าของฟาร์มที่เธอเคยเข้าไปทำงานบ้านให้ ทั้งสองสามีภรรยาเมื่อรู้เรื่องก็ช่วยพาลูกชายของเนลลีไปซ่อน
และออกรับหน้าแทนเมื่อตำรวจเข้ามาค้นบ้านโดยบอกตำรวจว่าเนลลีไม่มีลูก
แม้จะไม่เชื่อ ตำรวจก็ทำอะไรไม่ได้และออกจากบ้านไปมือเปล่า
|
เมื่อตำรวจกลับไปนั้น
เมกปลอบโยนเนลลีว่า เธอและลูกหนีมาอยู่ที่ฟาร์มของเมก และสามีได้
แต่เนลลีก็ยังเสียใจ เมกและจอร์จปลอบต่อไปอีกว่า ถ้าเช่นนั้นก็ให้สามีของเนลลีมาอยู่ด้วย
และพ่อแม่และญาติๆ ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก เนลลีได้แต่ตอบว่า
“Not same” |
ผู้เขียนจบเรื่องดังนี้
“He
put into her arms and the two of them rocked somberly
before him. He still hadn’t understood.
The old men old women uncles aunts cousins brother sisters
the humpies bottles dogs dirty blankets tobacco handouts
fights river trees all the tribe’s remnants and wretchedness,
destruction and misery.
Her second skin now
“Not same,” she whispers. And she cried them centuries
of tribal dream in those two words. “Not same.” (296) |
|
แม้สองสามีภรรยาจะเสนอให้เนลลีมาพักอยู่ในบ้านเพื่อหลบตำรวจนั้น
เนลลียืนยันอยู่เพียงว่า “Not same” ถึงอย่างไร “คนขาว” อย่างจอร์จก็ไม่อาจเข้าใจเธอได้
(He still hadn’t understood) ในฐานะของคนขาว จอร์จคิดว่าหากเนลลีกับลูกและสามีมาอยู่กับเขาก็เป็นอันแก้ปัญหาได้
แต่สำหรับชาวอะบอริจินแล้ว อัตลักษณ์ของพวกเขาผูกพันอยู่กับเผ่าซึ่งประกอบไปด้วยผู้เฒ่าผู้แก่และญาติ
(The old men old women uncles aunts cousins brothers sisters)
รวมทั้งแผ่นดินถิ่นฐาน (river trees all the tribe’s remnants
and wretchedness) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่คนขาวไม่ได้รู้สึกผูกพัน |
ผู้เขียนสรุปความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของคนดำและคนขาวได้อย่างเฉียบคมจากการตั้งชื่อเรื่องสั้น
สำนวนเดิมของภาษาอังกฤษคือ Home Is Where the Heart Is บ้านคือที่ไหนก็ได้ที่หัวใจรักและผูกพัน
เพราะรากเหง้าทางวัฒนธรรมของคนผิวขาวไม่ได้ผูกพันอยู่กับธรรมชาติอันเป็นถิ่นกำเนิด
ในขณะที่เทีย แอสต์ลีเปลี่ยนสำนวนเป็น Heart Is Where the Home
Is สำหรับชาวอะบอริจินแล้ว ความรักความผูกพันอยู่ที่บ้าน นั่นคือ
การเน้นที่ถิ่นฐานอันเป็นที่กำเนิดของเผ่าพันธุ์ ที่ซึ่งวัฒนธรรมของเผ่าฝังรากอยู่
และแม่น้ำ ต้นไม้ ก้อนหิน และภูเขา ไม่ใช่เป็นเพียงธรรมชาติ
แต่เป็นที่สถิตย์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การพรากชาวอะบอริจินไปจากถิ่นฐานก็เท่ากับเป็นการแล่เนื้อเถือหนังพวกเขานั่นเอง
เพราะถิ่นฐานเปรียบเสมือนผิวของคนเหล่านี้ (Her second skin
now) |
ลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาวิถีชีวิตของชาวอะบอริจิน
จากการค้นคว้าของจอห์น ริคาร์ด ( John Rickard) ในบทที่มีชื่อว่า
Aborigines (Whitlock and Carter, 1992: 64) พบว่า
“
การเคลื่อนย้ายของเผ่าอะบอริจินจากที่หนึ่งไปที่หนึ่งนั้นสะท้อนถึงแบบแผนบางอย่างที่โยงกับที่ดินในเชิงจิตวิญญาณและวัตถุ
ดังนั้นการที่จะกล่าวว่า ชนอะบอริจินเป็นชนเผ่าเร่ร่อนนั้นผิดอย่างยิ่งเพราะอาจทำให้เข้าใจว่า(เป็นการเคลื่อนย้ายอย่าง)ไม่มีจุดหมายปลายทาง
จริงๆ แล้ว ในพื้นที่บางแห่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ ชุมชนอะบอริจินจะตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง
ในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีหมู่บ้านที่สร้างด้วยหิน
อยู่ใกล้ทะเลสาบและแม่น้ำที่มีปลาชุกชุม จึงมีเครื่องมือจับปลาที่หลากหลาย
แต่แม้ในบางถิ่นที่แห้งแล้ง มีการเคลื่อนย้ายเป็นระยะทางไกล
แต่ลักษณะการเคลื่อนจะเป็นวงกลม ทั้งนี้เพื่อดูแลพื้นที่และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
รวมทั้งดูแลแหล่งสถิตย์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชนอะบอริจินจะเก็บพืชพรรณต่างๆ
ไม่ใช่เพื่อเป็นอาหารเท่านั้น แต่เพราะพวกเขาต้องการอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรม”
(หน้า 64) |
|
ถึงแม้เทีย
แอสต์ลีจะเป็นนักเขียนผิวขาว แต่เธอก็สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกและภาษาของชาวอะบอริจินได้อย่างสมจริงจากการที่เธอใช้ชีวิตช่วงหนึ่งอยู่ในท้องทุ่งและได้สัมผัสกับชีวิตของชาวอะบอริจิน
ผลงานเรื่องสั้นและนวนิยายของเธอจึงเป็นงานสัจนิยมเชิงสังคม
(social realism) ที่เสนอประเด็นเดียวกับปัญหาเหยียดผิวในออสเตรเลีย
(Ferrier, 1985: 207-208) |
การถ่ายทอดภาษาของชาวอะบอริจินในเรื่องสั้นเรื่องนี้ทำให้สามารถโยงประเด็นให้เห็นถึงการครอบงำของเจ้าอาณานิคมในรูปแบบของภาษา
ชนพื้นเมืองไม่เพียงแต่ถูกบุกรุกและยึดที่ดินเป็นเมืองขึ้นและฉกฉวยทรัพยากรธรรมชาติไปเท่านั้น
ยังถูกครอบงำทางวัฒนธรรมโดยที่ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญ คนพื้นเมืองถูกบังคับให้เรียนรู้ภาษาของเจ้าอาณานิคมเพื่ออธิบายสภาพแวดล้อมในบ้านเมืองของตนเอง
ผลก็คือ “intolerable wrestle with words and meanings has as
its aim to subdue the experience to the language, the exotic
life to the imported tongue.” (Ashcroft, Griffiths & Tiffin,
1989: 25) นั่นคือ เกิดความแปลกแยกในการใช้ภาษา เพราะภาษาของเจ้าอาณานิคมย่อมไม่มีวงศัพท์ที่จะอธิบายสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของประเทศอาณานิคมได้
นอกจากนี้ยังมีกรณีของประเทศหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียนที่ชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ
ที่ใช้ภาษาที่ต่างกันถูกจับไปเป็นทาสทำงานในไร่ของชนผิวขาว และชนหลายเผ่าเหล่านี้ถูกบังคับให้อยู่รวมกันโดยที่สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง
และให้ใช้ภาษาของคนผิวขาว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการสื่อสารที่อาจนำไปสู่การลุกฮือขึ้นสู้ได้
(อ้างแล้ว: 27) ลักษณะดังกล่าวปรากฏในหมู่ชาวอะบอริจินด้วย นั่นก็คือการถูกบังคับให้ใช้แรงงานในไร่และเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
ผลก็คือเกิดสิ่งที่เรียกว่า “english” แทนที่จะเป็น “English”
คือ เกิดภาษาอังกฤษใหม่ที่ผ่านการยื้อยุดระหว่างภาษา English
กับภาษาดั้งเดิม (อ้างแล้ว: 38-51) ตัวอย่างเช่น ภาษาของกวีอะบอริจินชื่อ
แบนโจ วอร์รูมารา(Banjo Worrumarra) ในกวีนิพนธ์บทที่มีชื่อว่า
“Pigeon Story” (Davis, 1990: 158)
Now—
PIGEON___
Pigeon START OFF—
him bin—
I talk to you—
with the pidgin English, Pidgin—
white man tongue, Pidgin—
he bin start off got—
breakin’ in HORSE—
him bin SHEARER—
shearin’ sheep—
with a BLADE—
not a machine—
‘cos those days they had a blade—
so he bin work on that one—
shearin’ blade—
he bin work Quanbun—
Noonkenbah—
Liveringa than he went back to Kimberley down—
he work there—
an’ he went back to p’lice camp—
then he start p’trol—
he went for p’trol—
look around some fella inna bush—
he tracking—
…………… |
|
Russell
Drysdale "The Ruins, Lake C allabonra "
จากหนังสือ
great Australian Paintings, Lansdowre Press,
1971 |
|
|
ราชา
ราว(Raja Rao) นักเขียนอินเดียกล่าวถึงความยากลำบากในการใช้ภาษาอังกฤษอธิบายสิ่งที่ปรากฏในสังคมอินเดียว่า
ทำให้เกิดภาวะที่ “One has to convey in a language that is
not one’s own the spirit that is one’s own” (อ้างใน Ashcroft,
Griffiths and Tiffin, 1989: 61) นักเขียนโพสต์โคโลเนียลจำนวนหนึ่งจึงเขียนภาษาพื้นเมืองโดยมีการวงเล็บภาษาอังกฤษ
แต่ก็มีนักเขียนอีกส่วนหนึ่งที่ใช้ภาษาพื้นเมืองปะปนกับภาษาอังกฤษทั้งนี้เพื่อยืนยัน
“ความเป็นอื่น” (an/Other language)(อ้างแล้ว: 64) แต่แม้จะไม่มีการให้ศัพท์ภาษาอังกฤษหรือภาษาแม่ในวงเล็บ
ผู้อ่านก็สามารถเข้าใจได้จากบริบท |
นโยบายกลืนเผ่าพันธุ์ของรัฐบาลผิวขาวไม่ได้ทำให้เด็กอะบอริจิน
“เติบโตอย่างเหมาะสม” (grow up proper) ผลที่เกิดจากนโยบายนี้กลับทำให้เด็กอะบอริจินลืมรากเหง้าของตนเอง
ไม่รู้ว่าพ่อแม่ของตนเป็นใคร การที่อ้างว่านำเด็กไป “เลี้ยงดู”
นั้น แท้จริงแล้วกลายไปเป็น “ทาส” หรือแรงงานเด็ก เด็กถูกลงโทษอย่างทารุณหากทำผิดเล็กๆ
น้อยๆ และเด็กหนึ่งในสิบคนถูกล่วงละเมิดทางเพศ ผลพวงจากนโยบายดังกล่าวทำให้คนอะบอริจินจำนวนมากติดยาเสพติด
ตกเป็นทาสของสุรา วัยรุ่นอะบอริจินติดคุกมากกว่าวัยรุ่นผิวขาว
30 เท่า และมีอัตราการฆ่าตัวตายสูง (Bangkok Post, 1994) ประวัติศาสตร์ออสเตรเลียเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ว่า
“Stolen Generation” |
เรื่องสั้นต่อไปนี้ให้ภาพต่อเนื่องของชะตากรรมของเด็กที่ถูก
‘ขโมย” ไปได้เป็นอย่างดี
แคทารีน ซูซานนา พริชาร์ด (1883-1969) เป็นนักเขียนหญิงที่โด่งดังมากคนหนึ่งของออสเตรเลีย
เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและเป็นผู้เลื่อมใสในลัทธิมาร์กซ์
จนเป็นหนึ่งคนผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ของออสเตรเลีย งานของพริชาร์ดมักมีแนวคิดหลักอยู่ที่สิทธิสตรี
ความสัมพันธ์ระหว่างคนดำและคนขาว และการกดขี่ที่คนขาวกระทำต่อคนดำ
เธอเป็นนักเขียนคนแรกๆ ของออสเตรเลียที่พยายามสร้าง “ความเป็นพื้นเมือง”
(indigenousness) ขึ้นในวรรณกรรมออสเตรเลีย โดยการเสนอสารเกี่ยวกับคนพื้นเมืองที่ก่อนหน้านี้ถูกมองข้าม
(อ้างแล้ว: 143 ) พริชาร์ดเขียนเรื่องสั้น N’goola ปรากฏต่อสายตาผู้อ่านในปี
ค.ศ. 1959 เปิดเผยถึงเรื่องราวของหญิงลูกครึ่งซึ่งแน่นอนว่าคือหนึ่งใน
Stolen Generation นั่นเอง |
เรื่องเริ่มที่ตัวละครชื่อ
แมรี “หญิงในวัยราว 40 ปี สวมชุดฝ้ายลายดอกไม้ที่ตัดเย็บอย่างประณีต….ตาของเธอสีน้ำตาลบ่งว่ามีเชื้อสายอะบอริจิน
แต่ผมของเธอสีน้ำตาล และผิวของเธอ มีสีเหลืองเจือ” ขณะที่แมรีเดินกลับบ้านนั้น
เธอพบชายอะบอริจินเนื้อตัวสกปรกที่เดินเข้ามาถามเธอว่า รู้จักเด็กผู้หญิงชื่อ
“เอนกูลา” (N’goola) หรือไม่ แต่แมรีเดินหนีไป สำหรับลูกครึ่งอย่างเธอและสามีแม้จะได้ชื่อว่าอะบอริจิน
แต่ก็มีที่อยู่อาศัยแยกออกจากชาวอะบอริจินแท้ๆ ที่อยู่อีกด้านหนึ่งของภูเขา |
แมรีเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของ
Stolen Generation โดยที่เธอไม่รู้ตัว เธอได้รับการ
อบรมจากโรงเรียนสอนศาสนา “trying to live like a white woman
: keeping her home clean and tidy and herself respectable,
as she had been taught to in a mission school” (25) |
ชื่อเอนกูลาที่ชายชราเรียกกระทบจิตใจแมรีเพราะชื่อนี้คุ้นหูอย่างยิ่ง
แต่เธอจำไม่ได้ว่าเธอได้ยินชื่อนี้มาจากไหน
แต่แม้ว่าแมรีได้ถูกทำให้กลายเป็นคนขาวไปแล้ว ลึกๆ ลงไปเธอโหยหากำเนิดของตนเอง
“Afterwards,
in the settlement, Mary was pleased to say
that she came from Port Hedland and belonged to the
Bulyarrie group in tribal relationship, but she never
mentioned to Ted, or any white people, the secret elation
it gave her to think she belonged somewhere, and to
somebody.” (27) |
|
เธอเรียกตัวเองว่าบัลยาร์รี(Bulyarrie)
เพราะครั้งหนึ่งหญิงชราอะบอริจิน เรียกเธอว่า “เด็กหญิงชาวบัลยาร์รี”
เพราะเธอมีสัญลักษณ์บางอย่างที่หน้าผาก นอกจากนี้เธอยังผูกพันกับหญิงอะบอริจินชื่อเนลลีที่มักเล่านิทานและร้องเพลงเกี่ยวกับอะบอริจิน
ขณะที่นั่งคิดถึงความหลัง แมรีประหลาดใจที่ได้ยินชายชราร้องเพลงพื้นเมืองที่เธอพอจะแปลออกว่า
Little
one, Little one,
Little Lost one,
Child of my dreaming,
Where are you ?……… |
|
ตรงนี้ผู้เขียนได้บันทึกถึงวัฒนธรรมของชาวอะบอริจินให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างชัดเจน
ว่าวัฒนธรรมของชนอะบอริจินที่สร้างอัตลักษณ์ของชุมชนอย่างหนึ่งคือ
การเล่าเรื่องและการร้องเพลงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสืบทอดประวัติศาสตร์ของชนเผ่า
แคทเทอรีน เอช. เบิร์นต์(Catherine H. Berndt) (อ้างใน Brewter,
1995: 51) กล่าวว่า
“เพราะชนดั้งเดิมอะบอริจินอ่านหนังสือไม่ออก
ดังนั้นการสั่งสอนและการบอกเล่าข้อมูลเกี่ยวกับผืนดินและทรัพยากรต่างๆ
จึงเล่าผ่านถ้อยคำมากกว่าการวาดภาพ หรือระบายสีในถ้ำ หรือสัญลักษณ์อื่นๆ
ทั้ง(ในรูปของ)เรื่องเล่าและเพลง ซึ่งเป็นหนทางในการส่งผ่านและรักษาวัฒนธรรมอะบอริจินเอาไว้”
|
|
แมรีเดินไปหาชายชรา
ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่า เอนกูลาเป็นใคร เกลนิต (Gwelnit)
ชายชราเล่าให้เธอฟังว่า เขาเป็นชนเผ่าวาบาร์รี (Wabarrie) แต่งงานกับหญิงอะบอริจิน
ชื่อมิตทูน (Mittoon) ลูกคนแรกของทั้งสองเป็นผู้ชาย ลูกคนถัดมาเป็นผู้หญิง
แต่ลูกคนที่สองเมื่อคลอดออกมาแล้วกลับมีผิวจาง มิตทูนเปิดเผยด้วยความละอายว่า
พ่อของเด็กหญิงก็คือนายจ้างของพวกเขานั่นเอง มิตทูนไม่ต้องการให้เด็กมีชีวิตอยู่เพราะเด็กหญิงจะเป็นเสมือนพยานแห่งความอัปยศที่ชาวผิวขาวกระทำต่อเธอ
แต่เกลนิต ต้องการเก็บเด็กเอาไว้ในฐานะลูกสาวของเขา |
อย่างไรก็ตาม
วันหนึ่งเมื่อเกลนิตกลับบ้านไม่พบลูกสาวจึงคาดคั้นมิตทูน เธอสารภาพว่าเอาเด็กไปทิ้งที่ลำน้ำ
เมื่อเขาตามไปหานั้นอเนกูลายังมีชีวิตอยู่ แต่เนื้อตัวเต็มไปด้วยมด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งไต่ที่หน้าผากทารกน้อยที่เป็นแผล หญิงชาวอะบอริจินในเผ่าต่างสรรเสริญพลังชีวิตของทารกน้อย
เกลนิตบอกเมียของเขาว่า หากเอนกูลาตาย มิตทูนต้องตายไปตามกัน
หลังจากนั้นเมียของเขาก็ไม่กล้าทำร้ายลูกสาวอีก |
เอนกูลาเป็นชีวิตจิตใจของพ่อ
แต่เมื่อเธออายุได้ 6 ปี ก็ถูกตำรวจขี่ม้ามาขโมยตัวไปตามนโยบายกลืนเผ่าพันธุ์
โดยเลือกเฉพาะเด็กที่เป็นลูกครึ่ง คนในเผ่าปลอบโยนเขาว่าเอนกูลาไม่ใช่ลูกแท้ๆ
ของเขา แต่เกลนิตไม่อาจยอมรับได้ ตั้งแต่นั้นมาเป็นเวลา 25 ปี
เขาก็เดินทางไปตามโบสถ์สำนักสอนศาสนาและสถานเลี้ยงดูเด็กในเมืองต่างๆ
เพื่อตามหาลูกสาว แมรีรู้สึกขัดแย้งอยู่ในใจเมื่อตระหนักถึงนามเอนกูลาที่รู้สึกคุ้นเคย
รวมทั้งแผลเป็นที่หน้าผากของเธอ
“She
was sorry for the old man, but, after all, she was half
white.
He was not her father : her father had been a white
man.” (35)
“His eyes went past Mary, unwilling to meet hers. He
gave no
sign of having sensed what he had done to her; lifting
a shroud
from her mind, and stir in her that conflict between
her desire
to live like a white woman and her loyalty to traditions
of the
dark people.” (36) |
|
ตัวละครแมรีเป็นตัวอย่างของชีวิตลูกครึ่งอะบอริจินที่ถูกพรากจากครอบครัวตามนโยบายเหยียดผิวของรัฐบาล
แมรีเป็น “Stolen Generation” ที่โชคดีที่เติบโตมีชีวิตครอบครัวที่มีความสุขเท่าที่รัฐบาลคนผิวขาวยอมให้เป็น
นั่นคือ เติบโตในโรงเรียนสอนศาสนาและรับการอบรมให้เป็นแบบคนผิวขาว
แต่งงานกับชายลูกครึ่งเช่นเดียวกับเธอ สร้างบ้านอยู่ในพื้นที่ควบคุมของรัฐบาล
รัฐของคนผิวขาวได้ประสบความสำเร็จในการสร้าง “คนดำแต่ใจขาว”
|
พริชาร์ดจบเรื่องแบบถนอมน้ำใจคนอ่าน
คือให้แมรีบอกแก่ชายชราว่า “You need wander is further, numae,….I
am N’goola” |
เรื่องสั้น
N’goola จึงสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่มนุษย์จักต้องแสวงหากำเนิดของตนเอง
การเป็นคน ‘ไร้ราก’ นั่นมีผลอย่างยิ่งต่อการรู้จักตนเอง คนเราต้องรู้ว่าตนเอง
‘belonged somewhere’ เหมือนกับที่แมรีแอบเรียกตนเองว่าเป็นชนเผ่าบัลยาร์รี
แม้จะถูกอบรมมาให้ลืมและดูถูกเผ่าพันธุ์ของตนเองก็ตาม |
แต่ชะตากรรมของตัวละครในเรื่อง
Going Home (1986) ของนักเขียนอะบอริจิน อาร์ชี เวลเลอร์ดูเหมือนจะไม่โชคดีนัก |
Going
Home เป็นเรื่องของเด็กหนุ่มลูกผสมอะบอริจินชื่อ วิลเลียม จาคอบ
วูดวาร์ด (William Jacob Woodward) ที่มีปู่เป็นคนผิวขาว เขาถูกส่งไปเข้าวิทยาลัยที่เมืองเพิร์ธหลังจบจากโรงเรียน
ด้วยความสามารถเขากลายเป็นนักฟุตบอลของสถาบัน กลายเป็น ‘ดารา’
มีผู้คนแวดล้อมชื่นชม เขาถึงกับลืมบ้านเกิดของตนเอง
“Black
hands grab the ball. Black feet kick the ball
Black hopes go soaring with the ball to the pasty white
sky.
No one can stop him now. He forgets about the river
of his Dreaming and the people of his blood and the
girl in his heart.
……………….
He never went out to the Park at Guildford, so he
never saw his people : his dark, silent staring people,
his rowdy, drunk people. He was white now.” (115) |
|
หลังจากใช้ชีวิตแบบคนขาวไม่กี่ปี
วิลเลียมหรืออีกชื่อหนึ่งคือ “วิลลี” ก็คิดไม่ต่างกับคนขาวนัก
เขาดูถูกคนผิวดำที่เป็นบรรพบุรุษของเขาเอง ครั้งหนึ่งเขาไล่อาคนหนึ่งของเขาที่แอบมาเมาหลับอยู่หน้าบ้านเช่าของเขา
‘A dirty pitiful carcass, encased in a black great coat that
had smelt of stale drink and lonely, violent places.’ (116)
หรือเดินหนีอาผู้หญิงที่เข้ามาทักทายเพราะเธอหน้าตทน่าเกลียด
“Ugly, oh, so ugly. Yellow and red eyes and broken teeth and
a long, crooked, white scar across her temple” (117) |
บิลลีเข้าเรียนต่อด้านวาดรูปและขายรูปได้เงินไม่น้อย
“That was his life: painting pictures and playing football
and pretending. But his people knew. They always knew.” (117) |
ถึงแม้ว่าบิลลีจะแสแสร้งอย่างไรก็ตาม
เขาก็ไม่อาจลบกำเนิดที่แท้จริงของเขา แม้เขาจะมีเชื้อสายของคนผิวขาว
ถึงอย่างไรสำหรับทุกคน เขาก็เป็นอะบอริจินอยู่นั่นเอง
บิลลีตัดสินใจกลับไปเยี่ยมบ้านเพราะในการแข่งขันฟุตบอลครั้งล่าสุดนั้น
นักฟุตบอลในทีมคู่แข่งคนหนึ่งเป็นคนดำ ซึ่งทำให้เขาหวนคิดถึงบ้าน
ระหว่างทางที่เขาขับรถหรูที่ซื้อมาด้วยน้ำพักน้ำแรงนั้น เขาเกือบขับรถชนชายอะบอริจินคนหนึ่งซึ่งรู้จักเขาและพ่อของเขา
ชายคนนี้ขอติดรถเขากลับไปด้วย |
ทั้งสองแวะซื้อเหล้าระหว่างทาง
แต่คนขายที่เป็นคนขาวไม่ยอมขายเหล้าให้โดยบอกว่าคนดำชอบกินเหล้าแล้วสร้างความเดือดร้อน
พร้อมกับขู่ว่าจะแจ้งตำรวจ ทำให้บิลลีคิดว่า
“
all the time he had gulped in the wine and joy of the
nightclubs and worn neat fashionable clothes and had
white women admiring him, played the white man’s game
with more skill than most of the wadgulas and painted
his country in white man’s colours to be gabbled over
by the wadgulas. All this time he has ignores his mumbling,
stumbling tribe and thought he was someone better.
Yet when it comes down to it all, he is just a black
man. (121) |
|
คืนนั้นพี่ชายสองคนของเขาขอยืมรถไปซื้อเหล้ามาเลี้ยงฉลองวันเกิดครบรอบ
21 ปีของเขา สำหรับเขาเวลาที่อยู่ในบ้านผ่านไปด้วยความแปลกแยก
แม่ของเขาไม่ยอมพูดกับเขา เรื่องจบเมื่อบิลลีถูกตำรวจจับเพราะมีคนแจ้งว่า
มีคนดำสองคนขับรถแบบเดียวกับรถของเขาไปปล้นและทำร้ายคนขายเหล้าบาดเจ็บสาหัส
ประโยคสุดท้ายของเรื่อง พี่ชายของเขาพูดว่า “Welcome ‘ome, brother”
|
Going
Home เสนอภาพของบิลลี หนุ่มลูกผสมที่ไปใช้ชีวิตแบบคนขาวในเมือง
ในเมืองใหญ่นั้นมีการยอมรับคนผิวสีมากขึ้นทำให้เขาหลงระเริงไปว่า
ตนเองดีกว่าคนผิวสีหรือคนผิวดำคนอื่นๆ แต่เมื่อเขากลับบ้านนั้น
เขากลายเป็นคน “ชายขอบ” อย่างแท้จริง คนขาวที่เหยียดผิวมองเขาเป็นเพียงคนดำที่ไร้ค่าคนหนึ่ง
ส่วนคนดำ(ซึ่งรวมแม่ของเขาด้วย)ไม่ได้รู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
เขาไม่สามารถทำตัวกลมกลืนกับคนอื่นๆ ในแคมป์ เช่น เขาไม่สามารถฟังภาษาของคนในแคมป์รู้เรื่องนัก |
สำหรับลูกผสมอย่างเขา
ไม่มี “บ้าน” ที่แท้จริง |
In
the Yard and Round the House เป็นเรื่องสั้นของนักเขียนชายอะบอริจิน
เฮิร์บ วาร์ตัน ที่เด่นมากเรื่องหนึ่ง อาร์ชี เวลเลอร์ถึงกับเขียนชื่นชมไว้ในหน้าแรกของหนังสือรวมเรื่องสั้น
Across Country : Stories from Aboriginal Australia ที่บรรจุเรื่องสั้นเรื่องนี้
เรื่องนี้เป็นเรื่องสั้นแนวอัตชีวประวัติที่ดัดแปลงมาจากการบรรยายพิเศษของเขา
ในเรื่องนี้ ผู้เล่าเรื่อง “I” เล่าถึงความทรงจำเกี่ยวกับบ้านของเขาในถิ่นที่เรียกว่า
ยัมบา(Yumba) อันมีภูมิประเทศติดกับแม่น้ำและภูเขาซึ่งเป็นแหล่งที่ครอบครัวของเขาหาเลี้ยงชีพโดยการตกปลา
ล่าสัตว์ และเลี้ยงสัตว์ |
บ้านของเขามีห้องสามห้อง
พื้นเป็นดิน สร้างจากวัสดุเหลือใช้และแผ่นกระดาน ไม่มีไฟฟ้าหรือน้ำประปา
เวลาจะใช้น้ำต้องนำถังไปรองน้ำที่ท่อประปาสาธารณะ พ่อของเขาปลูกผักไว้กินเอง
เวลารดน้ำผักต้องรอตอนดึกให้คนในหมู่บ้านเลิกใช้น้ำแล้วจึงค่อยๆ
รองใส่ถังมารดน้ำ |
เวลาไปโรงเรียน
เขาต้องเดินเท้าเปล่าไป ไม่ว่าอากาศจะร้อนจัดหรือหนาวจัด ที่โรงเรียนเขาเรียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอังกฤษและยุโรป
และเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับบ้านเกิดเมืองนอนของเขาเลย เขาจึงพบว่าการเรียนรู้ในวัยเด็กที่สนุกที่สุดคือการช่วยพ่อทำมาหากิน
ไม่ว่าจะตกปลาหรือเลี้ยงสัตว์ เขาเล่าถึงความผูกพันกับธรรมชาติว่า
“Our
back yard, the river, was equally important – the home
of the Munta-Gudda that ruled the river, the land. If
you misused your resources it would punish you in a
strange way. Our myths , legends and beliefs have been
handed down for centuries, telling us how to look after
our country. Yet it is only in recent times that so-called
Christian-civilised societies passed laws to protect
our resources and Mother Earth.” (214) |
|
เขาเล่าว่าทุกวันนี้บ้านใหม่ของเขาอยู่ใกล้ถิ่นเดิม
และอยู่บนถนนที่ชื่อว่า เบดฟอร์ด (Bedford) ตอนนี้เขากล่าวบางสิ่งที่ชี้ให้เห็นความผูกพันของคนอะบอริจินกับถิ่นฐาน
“Bedford
Street is becoming well known. Peter Carey, the writer,
also lives in Bedford Street, but in New York. I gave
him a photo of the real Bedford Street to show him how
far away from the center of the universe he lives” (215) |
|
ปีเตอร์
แครีเป็นนักเขียนออสเตรเลียที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ และเป็นนักเขียนผิวขาว
ตรงนี้เราอาจตีความได้ว่า ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่า คนผิวขาวมีความผูกพันกับบ้านเกิดน้อยกว่าคนดำ
แม้แครีจะเป็นนักเขียนออสเตรเลีย แต่เขากลับมี “บ้าน” อยู่ในมหานครนิวยอร์ค |
เขาเล่าว่า
แม้ปัจจุบันจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในถิ่นที่อยู่ของเขาอย่างไรก็ตาม
เขายังรู้สึกว่า
“Back
Yards and homes certainly bring back memories of days
long past, many that are related to the present. Our
home was no mansion but it was ours. I still don’t think
of owning it – we belonged to it and the landscape.”
(215) |
|
ข้อความดังกล่าวแสดงอย่างชัดเจนถึงความผูกพันที่ชาวอะบอริจินมีต่อ
“บ้าน” ตามความคิดของชนอะบอริจิน แม้บ้านของพวกเขาจะไม่ได้ใหญ่โตแต่มันก็เป็นบ้านของเขา
กระนั้น เขาก็ไม่ได้คิดว่าเขาครอบครองบ้าน |
ผู้เขียนจบเรื่องโดยกล่าวถึงกฎหมายที่ดินของรัฐบาลผิวขาว
ทำให้รัฐบาลพยายามทำลายต้นไม้ที่กำหนดเขตของที่ดินของชนอะบอริจิน
ซึ่งสำหรับชาวอะบอริจินแล้วแม้ว่าจะไม่มีต้นไม้ พวกเขาก็เดินกลับไปบ้านได้แม้ในความมืด
และบ้านเป็นที่ที่ให้อัตลักษณ์แก่เขา ทำให้เขาเป็นตัวเป็นตนอย่างที่เป็นอยู่
ดังนั้น คนจึงเป็น “ส่วนหนึ่ง” ของที่ดิน ไม่ใช่เป็น “เจ้าของ”
ที่ดิน
“Yet
I could not fathom the small-minded politics of those
who thought by getting rid of tree they were getting
rid of the past, in case of future land claims. For
I know that even without the tree I could walk directly,
unaided, even in the dark, to where our home and cedar
tree once stood. Where memories linger. A place that
gave me identity, helped shape who and what I became.
It gave me the sense of belonging too, being part of,
not owning. …” (216) |
|
เรื่องสั้นทั้งสี่เรื่องนี้แม้จะเขียนในระยะเวลาที่แตกต่างกัน
โดยนักเขียนทั้งผิวขาวและผิวดำ แต่ก็สะท้อนชีวิตที่แสนลำเค็ญของชาวอะบอริจินที่เกิดจากการกดขี่อันต่อเนื่องยาวนานของรัฐบาลผิวขาว
เรื่อง Heart Is Where the Home Is ชี้ให้เห็นภาวะบ้านแตกของชนอะบอริจินที่เกิดจากนโยบายกลืนเผ่าพันธุ์
อันเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าอับอายของออสเตรเลีย เรื่อง N’goola
แม้ว่าจะเขียนก่อนหน้าเรื่องแรกถึง 28 ปี แต่ก็ได้ให้ภาพที่ต่อเนื่องของชีวิตของชาวอะบอริจินที่หัวใจแตกสลายเพราะถูกพรากลูกไป
รวมทั้งภาพชีวิตของคนลูกผสมที่ไม่รู้รากเหง้าของตนเอง เรื่อง
Going Home ถือเป็นงานเขียนของชาวอะบอริจิน ที่แสดงให้เห็นผลของนโยบายของรัฐบาลที่กระทำต่อชาวอะบอริจิน
ทำให้เยาวชนอะบอริจินเป็นคนชายขอบที่อยู่ในสุญภาวะ เนื่องจากไม่มีสังคมใดยอมรับพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งอย่างแท้จริง
เรื่องสุดท้ายคือ In the Yard and Round the House สะท้อนให้เห็นว่า
คนอะบอริจินที่เติบโตมากับครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของตนนั้นผูกพันกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนอย่างไร
วิถีชีวิตดังกล่าวคนขาวคิดว่า ป่าเถื่อน ไร้ความเจริญจึงพยายามจะทำลาย
และหยิบยื่นความเจริญให้ โดยไม่ได้ตระหนักว่า มนุษย์ทุกคนต้องการที่เลือกวิถีชีวิตของตนเอง
ไม่ใช่ชีวิตที่คนอื่นเลือกให้ |
เรื่องสั้นทั้งสี่เรื่องนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
อัตลักษณ์และถิ่นฐาน ซึ่งรวมถึงสังคมและวัฒนธรรมมีความเกี่ยวโยงกันอย่างแยกไม่ออก
ลัทธิล่าอาณานิคมที่พรากคนออกจากถิ่นฐานของตนเองนั้นถือเป็นทำลายวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างถอนรากถอนโคน
และย่อมเป็นการทำลายอัตลักษณ์หรือตัวตนของชนพื้นเมืองด้วย เอนยา
ลูมบา(Ania Loomba) สรุปความคิดของฟรานซ์ ฟานอง (Frantz Fanon)
ที่กล่าวไว้ใน Black Skin, White Mask และ The Wretched of the
Earth ว่า
“งานของฟานองคัดค้านทฤษฎีเหยียดผิวเกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการทางชีววิทยาและจิตวิทยาที่สรุปว่า
“การทำให้ทันสมัย” (modernization) ทำให้คนพื้นเมืองเป็นบ้า
โดยการเสนอว่า ไม่ใช่การทำประเทศให้ทันสมัย แต่เป็นลัทธิล่าอาณานิคมต่างหากที่บังคับชนพื้นเมืองให้ย้ายถิ่นและทำลายจิตวิญญาณของชาวอาณานิคมผู้ไม่สามารถยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้
เพราะลัทธิอาณานิคมกัดกร่อนตัวตนและจิตวิสัยของเขา...ประสบการณ์ในการเป็นเมืองขึ้นทำลายล้างตัวตนของชาวอาณานิคม
ทำให้เขาเป็นวัตถุที่ถูกบดขยี้ และนี่คือเหตุที่ทำให้เขา
“ไม่ใช่คน” (Loomba, 1998: 142-143) |
|
เราจะเห็นว่า
ความคิดดังกล่าวสอดคล้องกับภาพของชาวอะบอริจินที่ปรากฏในเรื่องสั้นด้วย
หากวิเคราะห์ในเชิงจิตวิทยา ตัวตนของตัวละครชาวอะบอริจินที่ปรากฏในเรื่องสั้น
N’goola และ Going Home ถูกกัดกร่อนและลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ไป
พวกผู้ชายกลายเป็นคนขี้เมาและอาชญากร ส่วนผู้หญิงดูสิ้นหวังราวกับวัตถุที่ไร้จิตวิญญาณ |
ปัจจุบันวรรณกรรมโพสต์โคโลเนียลที่เขียนจากปากคำของชาวอะบอริจินได้รับการเผยแพร่มากขึ้น
และเป็นส่วนหนึ่งของการรื้อฟื้นวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวอะบอริจินให้ลูกหลาน
อะบอริจินได้รับรู้ บาร์บารา ฟลิกค์ (Barbara Flick) (อ้างใน
Brewster, 1991: 59) กล่าวว่า
“เราต่อสู้เพื่อสิทธิของลูกหลานของเรา
เพื่อที่ลูกหลานของเราจะได้เข้าใจวัฒนธรรมของพวกเขา พวกเขามีสิทธิที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับความเชื่อและการต่อสู้ของเรา
และเราต้องสอนให้พวกเขาเข้าใจโลกอย่างที่พวกเราเข้าใจ” |
|
_____________________________________________________________บรรณานุกรม |
Ashcroft,
Bill, Griffiths, Gareth and Tiffin, Helen. 1991. The
Empire Writes Back:
Theory and Practice in Post-colonial Literatures. London:
Routledge.
Bennett, Bruce and Hayes, Susan. 2000. Home and Away:
Australian Stories of
Belonging and Alienation. Nedlands: University of Western
Australia Press.
Brewster, Anne. 1995. Literary Formations: Post-colonialism
Nationalism, Globalism.
Caltor South: Melbourne University Press.
Clancy, Laurie. 1992. A Reader’s Guide to Australian
Fiction. Melbourne: Oxford
University Press.
Davis, Kerry. 1998. Across Country: Stories from Aboriginal
Australia. Sydney:
ABC Books.
Davis, Jack, et al. 1990. Paperbark: A Collection of
Black Australian Writings. St.
Lucia: University of Queensland Press.
Ferrier, Carole. 1985. Gender, Politics and Fiction:
Twentieth Century Australian
Women’s Novels. London: University of Queensland Press.
Hergenhan, Laurie. 1994. The Australian Short Story:
A Collection 1890s-1990s.
St. Lucia: University of Queensland Press.
Hodge, Bob and Mishra, Vijay. 1990. Dark Side of the
Dream: Australian Literature
and the Postcolonial Mind. Sydney: Allen & Unwin.
Loomba, Ania. 1998. Colonialism/Postcolonialism. London:
Routledge.
Whitlock, Gillian and Carter, David. 1992. Images of
Australia: An Introductory Reader in Australian Studies.
St. Lucia: University of Queensland Press.
Walter, James. 1991. Australian Studies: A Survey. Melbourne:
Oxford. |
|
|
บทความเสนอในการสัมมนาระดับชาติเรื่องวรรณกรรมโพสต์โคโลเนียล
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2546 |
|