หน่วยงานที่รับผิดชอบ
             
              ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะผู้วิจัย

             
             1.3.1    ผศ. ประอรรัตน์ ตั้งกิตติภาภรณ์
             1.3.2    รศ. ยุพร แสงทักษิณ
             1.3.3    รศ. กุลวดี มกราภิรมย์
             1.3.4    ผศ.ดร. เสาวณิต วิงวอน
             1.3.5    ผศ.ดร. ญาดา อารัมภีร
             1.3.6    อ. วรรณา นาวิกมูล
             1.3.7    อ. วัชราภรณ์ อาจหาญ
             1.3.8    อ. จันทวรรณ อนันตประยูร
ที่ปรึกษา                                
ประธาน
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการและเลขานุการ

ความสำคัญและที่มาของโครงการวิจัย


               โครงการวิจัยเพื่อปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรของภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เกิดขึ้นจากความประสงค์ของภาควิชาวรรณคดีที่จะศึกษาผลสัมฤทธิ์จากการผลิตบัณฑิตสาขาวรรณคดีไทยและสาขาวรรณคดีอังกฤษ ตลอดช่วงระยะเวลา 22 ปี มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้ว 18 รุ่น จำนวน 390 คนว่า ภาควิชาวรรณคดีได้บรรลุเป้าหมายในการเรียนการสอนเพียงใด นั่นคือบัณฑิตสามารถนำความรู้จากการศึกษาในภาควิชาวรรณคดีไปศึกษาต่อ ประกอบอาชีพและดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด ดังนั้นภาควิชาวรรณคดีจึงเห็นควรที่จะต้องศึกษา ทบทวน และตรวจสอบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาวรรณคดีว่ามีจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างไร สมควรจะต้องปรับปรุงและพัฒนาด้านใดเป็นสำคัญ ซึ่งในการนี้การวิจัยสถาบันจึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะสามารถตอบปัญหาหรือคำถามข้างต้นนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด ผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นแนวทางแก่ภาควิชาวรรณคดีในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร พัฒนาผู้สอน รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนให้มีศักยภาพเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อไป อนึ่ง ผลของการวิจัยครั้งนี้จะเป็นหลักฐานสำคัญสำหรับการประเมินคุณภาพภายนอกอีกด้วย

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

               เพื่อนำผลการวิจัยมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร พัฒนาผู้สอน และพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
ของภาควิชาวรรณคดี


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

               ผลการวิจัยจะเป็นข้อมูลอันสำคัญที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพ
ของภาควิชาวรรณคดีให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรมออกสู่สังคม เพื่อความเจริญและความมั่นคงของประเทศชาติ

ขั้นตอนและวิธีการในการดำเนินการวิจัย

               1 ออกแบบสอบถาม
               2 ส่งแบบสอบถาม
               3 ประมวลผลข้อมูล
               4 วิเคราะห์ข้อมูล
               5 จัดสัมมนา
               6 สรุปผลการวิจัย

ประชากรในการวิจัย


               1. ผู้เรียนสาขาวรรณคดีไทยและวรรณคดีอังกฤษ ได้แก่
                              บัณฑิตตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 - 2546 และนิสิตปัจจุบันที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4
               2. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวรรณคดีไทยและผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวรรณคดีอังกฤษ
               3. ผู้ว่าจ้างบัณฑิตทั้งสาขาวรรณคดีไทยและสาขาวรรณคดี อังกฤษ

เครื่องมือในการวิจัย


               1. แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (rating scales) และชนิดปลายเปิด (open end)
               2. การสัมภาษณ์

การเก็บรวบรวมข้อมูล

               1. ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนทั้งหมด จำนวน 185 ฉบับ
                              สาขาวรรณคดีไทย ส่งแบบสอบถามจำนวน 171 ฉบับ ได้รับกลับคืน 111 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 65
                              สาขาวรรณคดีอังกฤษ ส่งแบบสอบถามจำนวน 107 ฉบับ ได้รับกลับคืน 74 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 69
               2. ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ
                              สาขาวรรณคดีไทย 3 ฉบับ
                              สาขาวรรณคดีอังกฤษ 3 ฉบับ รวม 6 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100
               3. ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมมนาการวิจัยเพื่อปรับปรุงหลักสูตรภาควิชาวรรณคดี
               4.ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ว่าจ้างบัณฑิต 98 ฉบับ ได้รับกลับคืน 10 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 10

  การนำเสนอผลการวิจัย
 
 
ความคิดเห็นต่อหลักสูตรวรรณคดีไทย
(ข้อมูลจากผู้เรียนและผู้ทรงคุณวุฒิ)
ความคิดเห็นต่อบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา
จากภาควิชาวรรณคดี (ข้อมูลจากผู้ว่าจ้าง)
   
 
ความคิดเห็นต่อหลักสูตร
วรรณคดีอังกฤษ
(ข้อมูลจากผู้เรียนและผู้ทรงคุณวุฒิ)
 


ความคิดเห็นต่อหลักสูตรวรรณคดีไทย (ข้อมูลจากผู้เรียน)
คณะผู้วิจัยได้สำรวจความคิดเห็นของผู้เรียนหลักสูตรวรรณคดีไทย โดยใช้แบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ตอน คือ
               ตอนที่ 1  ผู้ตอบแบบสอบถาม
               ตอนที่ 2  โครงสร้างหลักสูตร
               ตอนที่ 3  เนื้อหาของหลักสูตรวิชาเฉพาะ
               ตอนที่ 4  การจัดการเรียนการสอน
               ตอนที่ 5  ผู้สอน
               ตอนที่ 6  การประเมินผล

ปัญหาและข้อเสนอแนะ
               1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
                              - ควรเพิ่มวิชาภาษาต่างประเทศให้มากขึ้นโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เพราะมีประโยชน์ในการทำงานมาก (9)
                              - ควรเพิ่มวิชาเลือกให้มากขึ้น (3)

               2. หมวดวิชาเฉพาะ
                              - ควรเพิ่มหน่วยกิตวิชาเฉพาะเลือกนอกสาขา (วิชาโท) (7)
                              - ควรเพิ่มวิชาเอกเลือก (2)

               3. หมวดวิชาเลือกเสรี
                              - ควรลดวิชาบังคับ เพิ่มวิชาเลือกเสรีให้มากขึ้น (12)

               4. เนื้อหาของหลักสูตรวิชาเฉพาะ
                              - ควรปรับเนื้อหาให้เอื้อต่อการนำไปใช้ทำงานให้มากขึ้น (3)

               5. การจัดการเรียนการสอน
                              - ควรให้มีการศึกษานอกสถานที่มากขึ้น (5)
                              - ควรเพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ทันสมัยยิ่งขึ้น (2)
                              - ควรเน้นการสอนแบบวิเคราะห์ให้มากขึ้น (2)

               6. ผู้สอน
                              - ควรให้นิสิตศึกษาค้นคว้าแล้วนำมารายงานหน้าห้องโดยเน้นให้นิสิตสนใจการรายงานของเพื่อนๆ ด้วย (1)
                              - ควรมีเช็คชื่อผู้เข้าเรียนทุกครั้ง (1)

               7. การประเมินผล
                              - ควรชัดเจน โปร่งใส และยุติธรรม (2)
                              - ควรแจ้งและให้นิสิตดูผลของการประเมินและได้รับทราบจุดดีจุดด้อย ของตนเพื่อนิสิตจะได้นำไปปรับปรุง
                               แก้ไขและพัฒนาให้ดีๆ ยิ่งขึ้น (2)

               8. ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนต่อการทำงาน การศึกษา และการดำเนินชีวิต
                             - วิชาเฉพาะ
                             - วิชาแกน
                             - บางรายวิชาไม่ได้ประโยชน์ (6)
                             - บางรายวิชามีประโยชน์มาก แต่มีปัญหาเรื่องวิธีการสอนของผู้สอน (3)
วิชาเฉพาะบังคับ              
               - ช่วยให้นิสิตมีกระบวนการคิดที่ดีขึ้น และมีเนื้อหาที่เป็น ประโยชน์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิต (2)

วิชาเฉพาะเลือก
               - ให้ความรู้แก่นิสิตมาก (3)
               - จะเป็นประโยชน์มากถ้านิสิตสามารถลงเรียนได้ทุกวิชาที่ประสงค์จะ เรียน (1)
               - ช่วยให้นิสิตมีความคิดวิเคราะห์มากขึ้น (2)

วิชาเฉพาะเลือกที่บัณฑิตคิดว่าเป็นประโยชน์

               - นิสิตควรมีโอกาสได้เรียนทุกวิชา (3)
                 ควรมีวิชาที่ทันสมัยและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการทำงาน เช่น การวิจารณ์ภาพยนตร์
                 การเขียนบทความทางวรรณกรรม ฯลฯ (2)

ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวรรณคดีไทย
แบบสอบถามดังกล่าวแบ่งออกเป็น 8 ตอน คือ
             ตอนที่ 1  ความเหมาะสมของจำนวนหน่วยกิต
             ตอนที่ 2  ความเหมาะสมของโครงสร้างหลักสูตร
             ตอนที่ 3  ความเหมาะสมของของรายวิชา
             ตอนที่ 4  ความเหมาะสมของของเนื้อหาและคำอธิบายรายวิชา
             ตอนที่ 5  ความสอดคล้องระหว่างรายวิชากับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรโดยภาพรวม
             ตอนที่ 6  ความทันสมัยของหลักสูตรโดยภาพรวม
             ตอนที่ 7  ความลึกซึ้งและความรอบด้านในสาขาวรรณคดีของ หลักสูตรโดยภาพรวม
             ตอนที่ 8  อื่น ๆ

รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวรรณคดีไทย 
3.2.1.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิพุธ โสภวงศ์
ข้าราชการบำนาญ
3.2.1.2 ศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา รักษมณี
ข้าราชการประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
3.2.1.3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร
ข้าราชการประจำภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อเสนอแนะ

             - จำนวนหน่วยกิตควรให้สอดคล้องกับปริมาณเนื้อหาวิชา
             - หน่วยกิตของวิชา 376497 สัมมนา (1 หน่วยกิต) และวิชา 376498 ปัญหาพิเศษ (1 - 2 หน่วยกิต) น้อยเกินไป
               จำนวนหน่วยกิตของกลุ่ม
             - วิชามนุษยศาสตร์ในหมวดการศึกษาทั่วไป (3 หน่วยกิต) น้อยเกินไป ควรปรับลดหน่วยกิตในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และ
               คณิตศาสตร์เป็น 3
               หน่วยกิตและเพิ่มหน่วยกิตกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์เป็น 6 หน่วยกิต
             - บางรายวิชาควรรวมเป็นวิชาเดียวกัน
             - ควรพิจารณาลำดับการเรียนใหม่
             - ควรมีวิชาหลักและศิลปะการเขียนซึ่งสำคัญมากสำหรับผู้ศึกษาวิชาเอกวรรณคดี
             - ควรปรับปรุงคำอธิบายรายวิชาที่มีลักษณะสังเขปมาก
             - หากเพิ่มเติมรายวิชาที่ทำให้ผู้เรียนวรรณคดีรู้จักวรรณคดีของชาติอื่นบ้างก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนให้รู้จักวรรณคดี
               กว้างขึ้น อาจเพิ่มรายวิชา เช่น วรรณคดีเอกของโลก หรือ วรรณคดีประเทศเพื่อนบ้าน หรือเพิ่มรายวิชาที่มีแนวทาง
               การศึกษาวรรณคดีที่กำลังได้รับความสนใจในสากล เช่น วรรณคดีกับสตรีศึกษา อาจทำให้การศึกษาวรรณคดีไทย
               มีชีวิตชีวามากขึ้น

การประเมินภาพรวมของหลักสูตร
             ภาพรวมของหลักสูตรมีความพยายามที่จะให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ใน สาขาวรรณคดีไทยอย่างชัดเจน หากปรับปรุงคำอธิบายและปรับสลับที่ระหว่างวิชาบังคับและวิชาเลือกบางรายวิชาจะดียิ่งขึ้น


ความคิดเห็นต่อหลักสูตรวรรณคดีอังกฤษ (ข้อมูลจากผู้เรียน)
คณะผู้วิจัยได้สำรวจความคิดเห็นของผู้เรียนหลักสูตรวรรณคดีอังกฤษ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ตอน คือ
             ตอนที่ 1  ผู้ตอบแบบสอบถาม
             ตอนที่ 2  โครงสร้างหลักสูตร
             ตอนที่ 3  เนื้อหาของหลักสูตรวิชาเฉพาะ
             ตอนที่ 4  การจัดการเรียนการสอน
             ตอนที่ 5  ผู้สอน
             ตอนที่ 6  การประเมินผล

ปัญหาและข้อเสนอแนะ
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
             - ควรเพิ่มวิชาภาษาอังกฤษและภาษาไทย (5)
             -ไม่ควรเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ควรเพิ่มวิชาคอมพิวเตอร์ (1)

หมวดวิชาเฉพาะ
             - ควรมีจำนวนวิชาให้เลือกมากกว่านี้ (1)
             - ควรจัดตั้งห้องสมุดสื่อการเรียนการสอนต่างๆ ที่เกี่ยวกับวรรณกรรม (1)
             - ควรมีวิชาที่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันหรือเฉพาะด้านให้มากกว่านี้ (1)

หมวดวิชาเลือกเสรี
             - ควรเพิ่มจำนวนหน่วยกิตให้มากขึ้น (6)

เนื้อหาหลักสูตรวิชาเฉพาะ

             - ควรมีวิชาที่มีเนื้อหาทันสมัยและนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน (2)
             - เนื้อหาบางรายวิชาใกล้เคียงกันจนเกินไปทำให้เกิดความสับสน (2)

การจัดการเรียนการสอน
             - ควรมีการจัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนวิชาวรรณคดีอย่างน้อยปีละครั้ง (1)
             - ควรให้นิสิตทำรายงานกลุ่มหรือโครงงานให้มากขึ้น แล้วนำมารายงานหน้าชั้น มิใช่อาจารย์เป็นผู้บรรยายฝ่ายเดียว (4)

ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวรรณคดีอังกฤษ
แบบสอบถามดังกล่าวแบ่งออกเป็น 8 ตอน คือ
             ตอนที่ 1  ความเหมาะสมของจำนวนหน่วยกิต
             ตอนที่ 2  ความเหมาะสมของโครงสร้างหลักสูตร
             ตอนที่ 3  ความเหมาะสมของของรายวิชา
             ตอนที่ 4  ความเหมาะสมของของเนื้อหาและคำอธิบายรายวิชา
             ตอนที่ 5 ความสอดคล้องระหว่างรายวิชากับวัตถุประสงค์ของ หลักสูตรโดยภาพรวม
             ตอนที่ 6  ความทันสมัยของหลักสูตรโดยภาพรวม
             ตอนที่ 7  ความลึกซึ้งและความรอบด้านในสาขาวรรณคดีของ หลักสูตรโดยภาพรวม
             ตอนที่ 8  อื่น ๆ

รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวรรณคดีอังกฤษ
             1. ศาสตราจารย์ ดร.สิทธา พินิจภูวดล ข้าราชการบำนาญ

             2. รองศาสตราจารย์นพมาส แววหงส์ ข้าราชการประจำภาควิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์
                 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

             3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนกวรรณ ฤทธิไพโรจน์ ข้าราชการประจำภาควิชาภาษาตะวันตก คณะโบราณคดี
                 มหาวิทยาลัยศิลปากร

ข้อเสนอแนะ
             - เนื่องจากรายวิชาแกนด้านทักษะทางภาษาและภาษาศาสตร์มีลักษณะทั่วไปมาก ควรกำหนดให้มีรายวิชาประเภท language & thoughts ที่ผสมผสานด้านการคิดด้วยเพื่อสร้างประสบการณ์การวิเคราะห์เชิง  วิจารณ์ให้แก่นิสิต

             - รายวิชาที่มีเนื้อหาประเภทขนบธรรมเนียมและประเภทร่วมสมัยในหมวดวิชาเฉพาะเลือกมีสัดส่วนที่เหมาะสมแล้ว มีรายวิชาที่เนื้อหา น่าสนใจ ทันโลก มีประโยชน์ในเชิงประยุกต์และมีความเป็นสหวิทยาการสูงอยู่หลายรายวิชา

             - ควรเพิ่มเติมหัวข้อเพื่อสร้างเป็นรายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะควรให้เพิ่มรายวิชาเฉพาะเลือกที่มีเนื้อหาดังต่อไปนี้ วรรณกรรมเอกของชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษอื่น ๆ นอกจากออสเตรเลีย /วรรณกรรมนิทานที่มีความสำคัญในฐานะบ่อเกิดของวรรณคดีประเภทอื่น / วรรณกรรมเยาวชน (Children Literature)

             - เลือกหรือเพื่อกำหนดเป็นหัวข้อในรายวิชาสัมมนาหรือปัญหาพิเศษ เพื่อความลึกซึ้งในกรอบรายวิชาที่มีอยู่แล้วหรือเพื่อสะท้อนความเคลื่อนไหวของวรรณกรรมโลกในปัจจุบันดังต่อไปนี้ : Beat Generation Poetry, Issues and Texts in Contemporary Literature and Films , Postcolonial Literature , Popular Narrative , Poetry and Painting

            - ปรับปรุงคำอธิบายรายวิชาบางรายวิชา

ผู้สอน
            - อาจารย์ควรกระตุ้นและบังคับให้นิสิตศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเองให้มากขึ้น (1)
            - ควรแบ่งเนื้อหาการสอนให้เหมาะสมแก่เวลาตลอดทั้งภาคเพื่อมิให้ต้องมาเรียนหนักตอนปลายภาค (2)


การประเมินผล

            - ควรมีการประเมินผลที่ชัดเจน พร้อมทั้งมีหลักฐานให้นิสิตดูได้ และควรแจ้งและชี้แจงผลประเมินทุกครั้ง (4)
            - ควรประเมินผลจากคะแนนรายงานและสอบย่อยให้มากขึ้น (2)

 
ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนต่อการทำงาน การศึกษา และการดำเนินชีวิต
1. วิชาเฉพาะ
             1.1 วิชาแกน
             - ไม่มีความคิดเห็น

1.2 วิชาเฉพาะบังคับ
             - สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม (3)
             -ได้ฝึกและพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณซึ่งช่วยในการทำงาน (3)
             - บางวิชาทำให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน (1)

1.3 วิชาเฉพาะเลือก
             - ได้รับประโยชน์จากการเรียนแบบอภิปรายและวิเคราะห์วิจารณ์เกี่ยวกับตัวละคร ฯลฯ (1)

หัวข้อประเมินบัณฑิตของผู้ว่าจ้าง
ความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 80
ความสามารถในการปฏิบัติงานสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมายในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 80
ความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายในเวลาที่
กำหนดในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 80
ความกระตือรือร้นและสนใจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง เพื่อความก้าวหน้าในการทำงานในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 70
ความเหมาะสมกับตำแหน่งที่ได้รับมอบหมายในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60
ความสามารถในการเรียนรู้งาน ตลอดจนการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานได้ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60
ความสามารถในการติดต่อสื่อสารทั้งการพูดและการเขียนได้ถูกต้องและชัดเจนในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60
สมควรได้รับการสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในการทำงานในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60
ความริเริ่มสร้างสรรค์และมีความเป็นผู้นำอยู่ในระดับมากจนถึงงานกลาง คิดเป็นร้อยละ 50
มีวิจารณญาณ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลหรือแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผลในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 50

ผู้ว่าจ้างบัณฑิตส่วนใหญ่มีความพอใจต่อบุคลิกภาพของบัณฑิตในการปฏิบัติงานในระดับมาก ดังนี้
มีบุคลิกดีและการวางตัวเหมาะสมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 90
มีวุฒิภาวะทั้งด้านสติปัญญาและอารมณ์ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 90
ตรงต่อเวลาและปฏิบัติงานสม่ำเสมอในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 70
มีความประพฤติดีและปฏิบัติตามระเบียบวินัยในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 70
มีมนุษยสัมพันธ์และให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นหมู่คณะในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 70
มีความอุตสาหะในการทำงานไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและปัญหาในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 70
ความสามารถในการเรียนรู้งาน ตลอดจนการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานได้ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60
ความสามารถในการติดต่อสื่อสารทั้งการพูดและการเขียนได้ถูกต้องและชัดเจนในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60
สมควรได้รับการสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในการทำงานในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60
ความริเริ่มสร้างสรรค์และมีความเป็นผู้นำอยู่ในระดับมากจนถึงงานกลาง คิดเป็นร้อยละ 50
มีวิจารณญาณ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลหรือแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผลในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 50

ผู้ว่าจ้างบัณฑิตส่วนใหญ่มีความพอใจต่อบุคลิกภาพของบัณฑิตในการปฏิบัติงานในระดับมาก ดังนี้
มีบุคลิกดีและการวางตัวเหมาะสมในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 90
มีวุฒิภาวะทั้งด้านสติปัญญาและอารมณ์ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 90
ตรงต่อเวลาและปฏิบัติงานสม่ำเสมอในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 70
มีความประพฤติดีและปฏิบัติตามระเบียบวินัยในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 70
มีมนุษยสัมพันธ์และให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นหมู่คณะในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 70
มีความอุตสาหะในการทำงานไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและปัญหาในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 70
บัณฑิตส่วนใหญ่มีความซื่อสัตย์ และเป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60
บัณฑิตส่วนใหญ่มีความขยันหมั่นเพียรในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 50
บัณฑิตส่วนใหญ่แต่งกายดีเหมาะแก่กาลเทศะในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60
บัณฑิตส่วนใหญ่มีจริยธรรม รู้จักเสียสละ เอื้อเฟื้อและช่วยเหลือผู้อื่นในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60

1 คุณสมบัติที่ดีเด่นของบัณฑิต
ก.  บัณฑิตส่วนใหญ่มีความมั่นใจในตนเอง
ข.  บัณฑิตส่วนใหญ่ขยันหมั่นเพียร มานะอดทนต่องานหนัก
ค.  บัณฑิตส่วนใหญ่มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายและ สามารถปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
ง.  บัณฑิตส่วนใหญ่มีความรักในวิชาชีพและสามารถแก้ไขปัญหาในการ ทำงานได้เป็นอย่างดี
จ.  บัณฑิตส่วนใหญ่สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีมนุษยสัมพันธ์ดีและพร้อมที่จะประเมินและ
     ปรับปรุงตนเอง อยู่ตลอดเวลา
ฉ. บัณฑิตส่วนใหญ่เรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน ซื่อสัตย์ เรียนรู้ได้เร็ว มี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทุ่มเทให้งานจนเป็นที่
     ประทับใจของผู้บัญชา และเพื่อนร่วมงาน

2 ข้อควรปรับปรุงของบัณฑิต
ก.  บัณฑิตบางคนสนใจแต่เพียงงานในหน้าที่ ผู้ว่าจ้างเสนอแนะว่าควร สนใจงานอื่นๆ ด้วยเพื่อช่วยพัฒนาการทำงาน
ข.  บัณฑิตบางคนมีคุณสมบัติขัดแย้งกัน โดดเด่นทางหนึ่ง แต่ด้อยอีกทาง หนึ่ง เช่น มีมนุษยสัมพันธ์ดีมาก แต่ขาดความสามารถ
     ในการ ประสานงานและถ่ายทอดข้อมูลให้แก่ผู้อื่น ทำให้เกิดความผิดพลาด ส่งผลต่อผู้ร่วมงานและผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
ค.  บัณฑิตบางคนรักวิชาชีพของตน แต่ขาดความเป็นผู้นำและมนุษย- สัมพันธ์กับผู้อื่น
ง.  บัณฑิตบางคนมีความรู้ความเข้าใจงานของบริษัทเป็นอย่างดี ทำงานได้ หลายหน้าที่ ยกเว้นบัญชีและการเงิน
จ.  บัณฑิตบางคนมีความรู้และเข้าใจงานของบริษัทอย่างถ่องแท้ แต่ ขาด การพัฒนาหน้าที่ให้ดีขึ้น
ฉ. บัณฑิตบางคนไม่มีเวลาหาความรู้เพิ่มเติมอันเป็นผลจากภาระเรื่อง ครอบครัวและขาดการสังสรรค์กับกลุ่มเป้าหมายอื่น
     ซึ่งอาจจะเป็น เครื่องกระตุ้นหรือแรงจูงใจให้พัฒนาประสิทธิภาพ
 

 
หน้าหลัก
รายงานการวิจัย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เลขที่ ๕๐ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐
โทรศัพท์ : ๐๒-๕๗๙- ๕๕๖๖-๘ ต่อ ๔๐๒ โทรสาร : ๐๒-๙๔๐-๖๙๗๙
 email address : lit@ku.ac.th